Smile Central

Detail container background

Bullet icon ทันตกรรมแบบทั่วไป

การตรวจวินิจฉัยเป็นขั้นตอนเบื้องต้นที่มีความสำคัญมากที่สุด ซึ่งจะส่งผลให้ทันตแพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด ในบางกรณีอาจมีความจำเป็นในการถ่ายเอ๊กซเรย์และพิมพ์ปากเพื่อการวิเคราะห์โรค

Dentist Dental In Pattaya

การตรวจวินิฉัย การถ่ายเอ๊กซเรย์ การให้คำปรึกษาพร้อม การวางแผนการรักษา เป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งสำหรับทันตกรรมสมัยใหม่ ช่วยในการวางแผนการรักษาที่ถูกต้องและเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงที่สุด



การขัดฟัน


ด้วยผงขัดที่ผสมฟลูออไรด์ เพื่อกำจัดคราบอาหารหรือหลัง ขูดหินปูน ทำให้ผิวฟันเรียบรื่นยากที่คราบอาหารหรือ หินปูนกลับมาติดอีกครั้ง

ขูดหินปูน


เป็นวิธีการทางทันตกรรมอย่างหนึ่งที่ช่วยกำจัดคราบหินปูนที่ติดบนผิวฟันซึ่งเป็นสาเหตุของฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ

หินปูนคืออะไร

หินปูนคือคราบแบคทีเรียที่สะสมจนแข็งตามตัวฟัน หินปูนสามารถจับตัวที่ร่องเหงือกได้เช่นกัน ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อเหงือก หินปูนจะเป็นบริเวณที่ง่ายต่อการจับตัวของคราบแบคทีเรีย ซึ่งจะนำไปสู่โรคที่อันตรายเช่น ฟันผุ และโรคเหงือก

ไม่เพียงแต่หินปูนจะทำลายสุขภาพของฟันและเหงือกเท่านั้น แต่หินปูนยังส่งผลต่อความสวยงามด้วย เนื่องจากหินปูนจะดูดซับคราบสกปรกได้ง่ายกว่า ดังนั้นถ้าคุณเป็นคนดื่มชาหรือกาแฟ การป้องกันไม่ให้มีหินปูนจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

เราจะรู้ว่ามีหินปูนสะสมได้อย่างไร

หินปูนต่างจากคราบแบคทีเรียซึ่งมีลักษณะเป็นฟิล์มใสๆ เกาะตัวกัน แต่หินปูนมีลักษณะเป็นหินที่มองเห็นได้ง่ายถ้าจับตัวเหนือร่องเหงือก สัญญาณที่พบบ่อยของหินปูนคือคราบเหลืองหรือน้ำตาลที่เกาะบนฟันหรือเหงือก ทางที่จะตรวจพบและขจัดหินปูนได้อย่างแน่นอนคือการพบทันตแพทย์

เราจะป้องกันไม่ให้หินปูนสะสมได้อย่างไร

การแปรงฟันที่ถูกต้องโดยเฉพาะการใช้ยาสีฟันที่ป้องกันหินปูน และใช้ไหมขัดฟันเพื่อขจัดคราบแบคทีเรียและหินปูนสะสม เมื่อหินปูนได้ก่อตัวขึ้น มีเพียงทันตแพทย์เท่านั้นที่จะกำจัดได้ด้วยวิธีการขูดหินปูน ระหว่างการขูดหินปูน ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือเฉพาะที่จะขูดหินปูนออกจากฟันและร่องเหงือก


การอุดฟัน


เป็นการกรอบริเวณที่ผุออกแล้วจึงทำการอุดด้วยทันตวัสดุ เช่น วัสดุอมัลกัม วัสดุเรซินสีเหมือนฟัน หรือ Inlays & Onlaysการอุดฟัน จะทำก็ต่อเมื่อมีฟันผุ คอฟันสึกจากการแปรงฟันผิดวิธี การแตกหัก หรือการบิ่นของฟันจากอุบัติเหตุ การอุดฟันช่วยทดแทนฟันที่สูญเสียเนื้อฟันจากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ด้วยการใส่วัสดุอุดฟันเข้าไปทดแทนที่เพื่อให้ฟันซี่นั้นสามารถใช้งานในช่องปากได้เหมือนเดิมหรือกลับมีรูปร่างตามปกติ ทำให้โครงสร้างทั้งหมดของฟันอยู่ในสภาพที่ดี และทำหน้าที่ได้ถูกต้องเหมือนเดิม หรือบางครั้งรูปร่างของฟันไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง แต่จำเป็นต้องอุดฟันเพื่อช่วยให้ดูดีขึ้น เช่น ฟันหน้า ที่มีการเปลี่ยนสีของฟัน การอุดฟันเฉพาะด้านหน้า จะทำให้ฟันมีสีที่ใกล้เคียง หรือเหมือนกับฟันซี่ปกติซึ่งอยู่ข้างเคียงกัน

โดยทั่วไปลักษณะของการอุดฟัน จะมีความแตกต่างกัน 2 ลักษณะดังนี้ คือ

การอุดฟันในด้านความลึก ฟันที่มีการผุลึกแต่ยังไม่ทะลุถึงโพรงประสาทฟัน หรือมีการแตกหัก การบิ่นของฟันจากอุบัติเหตุในแนวลึก จำเป็นต้องใช้วัสดุอุดฟันหลายชนิดมากขึ้น เช่น ฟันผุใกล้โพรงประสาท ต้องใช้ยารองพื้นซึ่งเป็นสารช่วยกระตุ้นให้มีการสร้างเนื้อเยื่อของฟันชดเชย จากภายในโพรงประสาทฟัน แล้วปิดทับชั้นที่สองด้วยซีเมนต์ซึ่งเป็นสารที่ป้องกันความร้อน ความเย็นที่ถ่ายทอดเข้าไปในโพรงประสาทฟัน และชั้นสุดท้ายจึงอุดด้วยวัสดุอุดฟัน แต่ถ้าฟันผุลึก หรือมีการแตกหัก การบิ่นของฟันจากอุบัติเหตุในแนวลึกไม่มากนัก ความจำเป็นของการใช้ยารองพื้นและซีเมนต์ก็น้อยลงไปตามลำดับ จนอาจใช้วัสดุอุดฟันแต่เพียงอย่างเดียวก็ได้

การอุดฟันในด้านความกว้าง คือฟันที่ผุและลุกลามออกไปรอบบริเวณฟัน หรือมีการแตกหัก การบิ่นของฟันจากอุบัติเหตุเป็นแนวกว้าง ทำให้ต้องมีการอุดฟันหลายด้านมากขึ้น ซึ่งการอุดฟันประเภทนี้ทำให้ ความแข็งแรงของวัสดุที่ใช้อุดฟันลดน้อยลง เพราะจะลดเนื้อที่ของการเกาะยึดของวัสดุอุดฟันกับผิวฟันลงไป

วัสดุอุดฟัน มีหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป ได้แก่

กลาสไอโอโนเมอร์ เป็นวัสดุอุดฟันที่มีคุณสมบัติเด่นในด้านการยึดติดแน่นกับฟันทางเคมีโดยตรง สามารถปล่อยฟลูออไรด์ออกมาเพื่อช่วยป้องกันโรคฟันผุได้ ซึ่งการใช้กลาสไอโอโนเมอร์เป็นวัสดุอุดฟัน ไม่มีผลเสียต่อเนื้อเยื่อในช่องปาก มีสีเหมือนฟัน แต่ข้อเสียคือสึกกร่อนได้มากกว่าวัสดุอุดฟันชนิดอื่น

เรซิน คอมโพสิต เป็นวัสดุอุดฟันสีธรรมชาติ ซึ่งมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัสดุอุดฟันแบบฉายแสง เป็นวัสดุจำพวกพลาสติก ใช้ในตำแหน่งที่ต้องการความสวยงามเหมือนธรรมชาติ สามารถใช้อุดฟันได้ทั้งฟันหน้าและฟันหลัง สามารถยึดติดแน่นกับฟันได้โดยอาศัยสารยึดทางเคมี และคงทนได้นานกว่ากลาสไอโอโนเมอร์ แต่วัสดุชนิดนี้มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และไม่มีการปล่อยฟลูออไรด์ออกมา จึงไม่มีผลในการป้องกันโรคฟันผุต่อไป

อมัลกัม เป็นวัสดุอุดฟัน ที่มีจุดเด่นคือให้ความแข็งแรงดีพอสมควรเพราะเป็นส่วนผสมของโลหะ ราคาไม่แพง ใช้อุดฟันได้ทั้งฟันกรามน้ำนมและฟันกรามแท้ ในตำแหน่งที่ไม่ต้องการความสวยงาม ข้อเสียคือมีสีไม่เหมือนฟัน ไม่สามารถยึดติดกับฟัน และไม่สามารถปล่อยฟลูออไรด์ในการป้องกันโรคฟันผุได้

ฟันที่ผุ หรือฟันที่ต้องรับการอุดฟันเพื่อรักษาระบบการเคี้ยวอาหารนั้น เมื่อได้ทำการอุดรักษาเรียบร้อยแล้ว ก็ยังมีโอกาสที่จะผุ หรือวัสดุอุดฟันแตก บิ่นได้อีก ถ้าไม่ได้รับการดูแล รักษาความสะอาดด้วยการแปรงฟันให้สะอาดอย่างทั่วถึง ตลอดจนใช้ไหมขัดฟันช่วยทำความสะอาดซอกฟันด้วย และควรระมัดระวังการเคี้ยวอาหารที่แข็ง เพราะฟันที่ได้รับการอุดรักษานั้น จะมีส่วนเพิ่มของวัสดุอุดฟัน ซึ่งไม่เป็นเนื้อเดียวกับเนื้อฟันจริง ซึ่งจะมีลักษณะที่เป็นรอยต่อ ดังนั้นถ้าไม่ระวังแล้ว การกระทบกับของแข็งจะทำให้เกิดการแตก หรือบิ่นได้ง่าย

ฟันหน้า ควรจะอุดให้ดูเหมือนฟันธรรมชาติ ดีหรือไม่

วัสดุอุดฟันมีสีธรรมชาติ หรือวัสดุอุดฟันแบบฉายแสง เป็นวัสดุที่ใช้เพื่อความสวยงามเหมือนธรรมชาติซึ่งในต่างประเทศ จะนิยมเรียกวัสดุอุดฟันมีสีธรรมชาติ มากกว่าจะเรียกว่า วัสดุอุดสีขาว

ในอดีต คนนิยมอุดฟันหน้าด้วยโลหะประเภททอง แต่ปัจจุบันการอุดฟันให้เหมือนธรรมชาติ (Composite Filling) ทำให้สวยงามน่าดูยิ่งขึ้น ซึ่งในทางทันตกรรมได้ตอบสนองความนิยมนี้ด้วยการพัฒนาวัสดุอุดฟัน และเทคนิคต่าง ๆ ให้สามารถอุดฟันหน้าได้สวยงามเหมือนธรรมชาติมากที่สุด โดยเพิ่มวัสดุอุดฟัน ให้มีหลายแบบ และหลายสี ตั้งแต่ สีขาว สีเหลือง จนกระทั่งออกสีน้ำตาล หมอฟันสามารถเลือกสี ให้เหมือนกับสีของฟันแต่ละคนได้

Close sidebars