คำแนะนำในการดูแลรักษาฟันหลังการฟอกสีฟัน
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีสี เช่น ชา, กาแฟ, น้ำอัดลม, ไวน์แดง และอื่นๆ เป็นเวลา 2 วัน เนื่องจากฟันที่เพิ่งได้รับการฟอกสีฟันมาจะสามารถดูดซึมสีได้ง่าย
หลีกเลี่ยงอาหารที่เย็นหรือร้อนจัดเป็นเวลา 2 วัน เพราะอาจทำให้รู้สึกเสียวฟันได้
วิธีการดูแลรักษาฟันให้ขาวนานยิ่งขึ้น
- ใช้ยาสีฟันเพื่อทำให้ฟันขาว (Whitening Toothpaste) เป็นประจำ
- พบทันตแพทย์เพื่อทำความสะอาดและขัดฟันทุก 3-4 เดือน
- หลังจากดื่มเครื่องดื่มที่มีสี หรือสูบบุหรี่ ให้ดื่มน้ำเปล่าตามทุกครั้ง เพราะน้ำเปล่าสามารถช่วยล้างสีที่ผิวฟันได้
คำแนะนำหลังผ่าฟันคุด
- ไม่ควรรบกวนบริเวณแผล หลีกเลี่ยงการแตะแผลด้วยลิ้น , นิ้ว, ผ้าเช็ดหน้าต่างๆ หรืออื่นๆ
- ห้ามถ่มน้ำลาย , เลือด หรือบ้วนน้ำ เนื่องจากแผลอาจขยับ และทำให้เลือดไหลเพิ่มขึ้น โปรดกลืนน้ำลาย
- ในวันแรกควรทานยาแก้ปวดทุก 4-6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการปวด อาจใช้ความเย็นประคบเพื่อบรรเทาอาการปวดและบวมในสองวันแรก
- ในวันแรกควรทานอาหารอ่อนหรือเหลว เพื่อป้องกันเศษอาหารเข้าไปติดแผล
- ยาปฏิชีวนะสำหรับป้องกันการติดเชื้อ เพราะฉะนั้นต้องทานตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด การทานยาที่ไม่ต่อเนื่องอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
- ควรใช้น้ำยาบ้วนปาก (ที่ให้ไป) กลั้ววันละ 2 ครั้ง เช้า - ค่ำ อมไว้ในปาก 1 นาที (ใช้ตามคำแนะนำข้างขวด ใช้จนกว่าน้ำยาจะหมด)
- ให้แปรงฟันได้ตามปกติ แตกควรหลีกเลี่ยงการกระแทกโดนบริเวณแผล
- ในวันที่ 3 หลังผ่าตัด ให้อมน้ำเกลืออุ่นๆ บ้วนปากบ่อยๆ (เกลือ 1 ช้อนชาผสมน้ำอุ่น 1 แก้ว) 3-5 ครั้งต่อวัน จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
- การบวมช้ำหรือมีจ้ำเขียว เป็นการตอบสนองตามปกติของร่างกาย แต่หากมีการบวมมากผิดปกติ ควรติดต่อพบทันตแพทย์
- ในคืนแรกควรหนุนหมอนสูง (ใช้หมอน2 ใบ) เพื่อลดการบวมในบริเวณที่ผ่าตัด
- ไม่ควรสูบบุหรี่ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
คำแนะนำหลังผ่าตัดปลูกรากเทียม
- ไม่ควรรบกวนบริเวณแผล หลีกเลี่ยงการแตะแผลด้วยลิ้น , นิ้ว , ผ้าเช็ดหน้าต่างๆ หรืออื่นๆ
- ห้ามถ่มน้ำลาย, เลือด หรือบ้วนน้ำ เนื่องจากแผลอาจขยับ และทำให้เลือดไหลเพิ่มขึ้น โปรดกลืนน้ำลาย
- หากมีเลือดออกเพิ่มให้ใช้ผ้าก็อตสะอาดวางบริเวณแผล กัดเบาๆ ประมาณ 15 นาที
- ในวันแรกควรทานยาแก้ปวดทุก 4-6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการปวด อาจใช้ความเย็นประคบเพื่อบรรเทาอาการปวดและบวมในวันแรก
- ในวันแรกควรทานอาหารเหลว เพื่อป้องกันเศษอาหารเข้าไปติดแผล ในอาทิตย์แรกควรทานอาหารอ่อน และเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ หากรับประทานอาหารได้น้อยควรทานอาหารเสริม หรือไวตามินเพิ่ม ใน 1-2 อาทิตย์แรกห้ามเคี้ยวอาหาร หรือมีแรงกดในบริเวณที่ฝั่งรากเทียม
- ไม่ควรใส่ฟันปลอม หรือหากจำเป็น ฟันปลอมจะต้องได้รับการปรับแต่งเพื่อลดแรงกดที่แผล แรงกดจากการบดเคี้ยวหรือจากฐานฟันปลอม อาจทำให้แผลแยก การหายของแผลช้าลง หรือส่งผลให้รากเทียมที่ปลูกไว้หลุดได้
- ยาปฎิชีวนะ (ยาแก้อักเสบ)ให้เพื่อการป้องกันการติดเชื้อในระยะแรก เพราะฉะนั้นยาที่ได้รับไป ต้องทานตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด การทานยาที่ไม่ต่อเนื่องอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
- การรักษาความสะอาด สำคัญมากต่อการหายของแผล
- ควรใช้น้ำยาบ้วนปาก (ที่ให้ไป) บ้วนวันละ 2 ครั้ง เช้า - ค่ำ อมไว้ในปาก 1 นาที (ใช้ตามคำแนะนำข้างขวด ใช้จนกว่าน้ำยาจะหมด)
- ให้แปรงฟันได้ตามปกติ แตกควรหลีกเลี่ยงการกระแทกโดนบริเวณแผล
- ในวันที่ 3 หลังผ่าตัด ให้อมน้ำเกลืออุ่นๆ บ้วนปากบ่อยๆ (เกลือ 1 ช้อนชาผสมน้ำอุ่น 1 ลิตร) 3-5 ครั้งต่อวัน จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
- การบวมช้ำหรือมีจ้ำเขียว เป็นการตอบสนองตามปกติของร่างกาย แต่หากมีการบวมมากผิดปกติ ควรติดต่อพบทันตแพทย์
- ไม่ควรสูบบุหรี่ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ในคืนแรกควรหนุนหมอนสูง (ใช้หมอน2 ใบ) เพื่อลดการบวมในบริเวณที่ผ่าตัด
คำแนะนำหลังการถอนฟัน
- หลังถอนฟันให้กัดผ้าก๊อซให้แน่น 1 ซ.ม. (1/2 ซ.ม. ถ้าเป็นการถอนฟันน้ำนม) อย่าพูดหรือเคี้ยวผ้าก๊อซเล่น
- หลังเอาผ้าก๊อซออก หากพบว่ายังมีเลือดออกจากแผลที่ถอนฟันให้วางผ้าก๊อซชิ้นใหม่ที่แผลถอนฟัน และกัดต่อให้แน่นอีก 1/2 ซ.ม.
- ไม่บ้วนน้ำลายหรือกลั้วปากแรงๆ ภายใน 24 ช.ม. หลังถอนฟัน ควรแปรงฟันให้สะอาดหลังอาหาร และก่อนนอน โดยระวังอย่าให้โดนบริเวณแผล
- ตลอดหนึ่งสัปดาห์หลังจากวันที่ถอนฟัน ให้อมน้ำเกลือบ้วนปากเบาๆ (ใช้เกลือป่น 1/2 ช้อนชาผสมน้ำอุ่น 1 แก้ว)
- รับประทานยาตามที่ทันตแพทย์แนะนำ :
- ยาแก้ปวด รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด เมื่อมีอาการปวด
- ยาปฏิชีวนะ (เฉพาะบางราย) ต้องรับประทานให้ครบจนยาหมด
คำแนะนำหลังการทำศัลยกรรมในช่องปาก
ในการผ่าตัดฟันคุด และศัลยกรรมในช่องปากอื่นๆ ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อแนะนำหลังการถอนฟัน และมีข้อควรปฏิบัติเพิ่มเติม ดังนี้
- ในวันแรกหลังการผ่าตัด ควรประคบเย็นด้านนอกปาก บริเวณที่ใกล้แผลผ่าตัด โดยใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบ เพื่อช่วยลดอาการบวมที่จะเกิดขึ้น ไม่ควรอมน้ำแข็ง
- เริ่มประคบร้อนในวันที่ 2 โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น่จัดบิดให้หมาด อาการบวมจะลดลงเป็นปกติภายใน 1 สัปดาห์
- งดการใช้งานของฟันด้านที่รับการผ่าตัดจนแผลหายดี งดการออกกำลังกายที่หักโหม และกีฬาทางน้ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
- สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด ควรรับประทานอาหารอ่อน งดอาหารเผ็ด และร้อนจัด
- กลับไปพบทันตแพทย์ตามที่นัดหมาย (ประมาณ 1-2 สัปดาห์) เพื่อตัดไหม และตรวจดูความเรียบร้อยของแผลผ่าตัด
คำแนะนำหลังการรักษารากฟัน
- หลังการรักษารากฟัน อาจมีอาการปวดอยู่ 2-3 วัน ให้รับประทานยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการ
- สัปดาห์แรกหลังการรักษา ควรรับประทานอาหารอ่อน หรือเคี้ยวอาหารโดยใช้ฟันข้างที่ไม่ได้รับการรักษา และงดการใช้ฟันที่รักษาเคี้ยวอาหารแข็ง จนกว่าการครอบฟัน หรืออุดฟันถาวรจะเสร็จสมบูรณ์
- หากพบว่าอาการปวดไม่ดีขึ้นหลังรับประทานยา หรือมีอาการบวมเกิดขึ้น ควรปรึกษาทันตแพทย์ที่ให้การดูแล เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม
คำแนะนำหลังการขูดหินปูน และผ่าตัดเหงือก
- หลังการขูดหินปูนภายใน 24 ช.ม. ไม่ควรบ้วนปากบ่อยๆ เพราะอาจทำให้เลือดออกตามไรฟันมากขึ้น
- หลังการขูดหินปูน 2-3 วันแรก อาจมีอาการเสียวฟันเมื่อดื่มน้ำเย็น หรือขณะแปรงฟัน และระบมที่เหงือกเล็กน้อย ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร้อนหรือเย็นจัด
- การแปรงฟันให้สะอาดร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันตามที่ทันตแพทย์แนะนำ จะช่วยลดอาการเสียวฟัน และอักเสบของเหงือกให้เป็นปกติได้เร็วขึ้น
- หลังการผ่าตัดเหงือก ควรรับประทานอาหารอ่อน งดการใช้งานของฟันด้านที่รับการผ่าตัดจนแผลหายดี
- งดการออกกำลังกายที่หักโหม และกีฬาทางน้ำซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
- รับประทานยาตามที่ทันตแพทย์แนะนำ :
- ยาแก้ปวด รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด เมื่อมีอาการปวด
- ยาปฏิชีวนะ (เฉพาะบางราย) ต้องรับประทานให้ครบจนยาหมด
- น้ำยาอมบ้วนปาก (เฉพาะบางราย) ใช้ตามคำแนะนำ
- กลับไปพบทันตแพทย์ตามที่นัดหมาย (ประมาณ 1-2 สัปดาห์) เพื่อตัดไหม และตรวจดูความเรียบร้อยของแผลผ่าตัด
คำแนะนำหลังการใช้ยาชาเฉพาะที่
ควรให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในคนไข้เด็ก ผู้สุงอายุ และผู้ที่มีโรคทางระบบ หรือได้รับยาซึ่งอาจลดความสามารถในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
- ยาชาเฉพาะที่จะมีฤทธิ์อยู่นาน 2-3 ช.ม. หลังการรักษา
- ควรดูแลคนไข้อย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการกัดริมฝีปาก ลิ้นหรือกระพุ้งแก้มขณะที่ยังชาอยู่
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ต้องเคี้ยวขณะที่ยังรู้สึกชา หากจำเป็นให้รับประทานอาหารอ่อน และเคี้ยวโดยใช้ฟันข้างที่ไม่ได้รับการรักษา
- หากกัดโดนริมฝีปาก ลิ้น หรือกระพุ้งแก้มเป็นแผล อาจมีเลือดออก หรือบวมร่วมด้วย ใช้ผ้าสะอาดกดไว้จนเลือดหยุด แผลจะมีอากรเจ็บหรือระบมเมื่อหายชา หากจำเป็นให้รับประทานยาแก้ปวด
- หลีกเลี่ยงอาหารรสเปรี้ยวหรือรสเผ็ด รักษาบริเวณแผลที่กัดให้สะอาด ไม่จำเป็นต้องใส่ยาที่แผล จะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์
คำแนะนำหลังการใช้ยาลดความกังวล
- งดอาหารทุกชนิดและนม (ยกเว้นน้ำเปล่า) อย่างน้อย 4 ช.ม. ก่อนเวลานัด
- หากเริ่มเป็นหวัดหรือมีไข้ก่อนวันนัด กรุณาติดต่อศูนย์ทันตกรรมทันที เพื่อปรึกษาทันตแพทย์ประจำ
- หลังรับประทานยาลดความกังวล เด็กอาจร้องไห้งอแงกอ่นที่จะหลับ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยา ควรมีผู้ปกครองอยู่ดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา
การดูแลหลังการรักษา
- กรณีที่ผู้ปกครองขับรถมาเอง ควรมีผู้ใหญ่อีกคนหนึ่งดูแลเด็กในระหว่างที่นังรถกลับบ้าน เพราะยาที่ใช้จะมีผลทำให้เด็กง่วงนอนต่ออีก 3-4 ช.ม. หลังกการรักษา
- เมื่อกลับถึงบ้านให้ผู้ป่วยนอนพักในที่สบาย และดูแลจนตื่นเต็มที่
- เด็กบางคนอาจหลับต่อเนื่องนาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการขาดน้ำ ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้มีไข้ต่ำๆ ควรปลุกให้ขึ้นมาดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารอ่อน ภายหลังเสร็จการรักษาไม่เกิน 4 ช.ม.