- คำถามที่พบบ่อย
- ระบบรากเทียมที่ใช้
- ระบบรากเทียมที่ใช้
- ประเภทของรากเทียม
- ขั้นตอนการทำรากเทียม
- ทำไมต้องใส่รากเทียม?
- รากเทียมคืออะไร?
- รู้จักกับรากเทียม

ขั้นตอนการทำรากเทียม

ทันตแพทย์เฉพาะทางจะทำการตรวจและ X-Ray เพื่อประเมินความหนาของ soft tissue ที่อยู่บนสันเหงือก

จากนั้นก็ผ่าตัดเพื่อปลูกตัวรากเทียมลงไปในกระดูก และเย็บปิดแผล จากนั้น 7 วันจึงมาตัดไหมที่เย็บออก และใช้เวลาในการรอ เพื่อให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรได้ดี ประมาณ 2-6 เดือน สำหรับฟันบน และ 2-3 เดือน สำหรับฟันล่าง

ทันตแพทย์จะทำการต่อเดือยรองรับครอบฟัน (Abutment) เพื่อใช้เป็นที่รองรับครอบฟัน และจะทำการพิมพ์ปากเพื่อส่งให้ Lab ทำครอบฟัน

หลังจากนั้นประมาณ 1-4 อาทิตย์ ทันตแพทย์จะนั้นใส่ครอบฟันให้ โดยครอบฟันนั้นทำมาจากวัสดุเซรามิค (porcelain) ซึ่งจะมีรูปร่างลักษณะ และสีสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติ
เพราะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ให้ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ สามารถรับประทานอาหารได้ทุกชนิด ทำความสะอาดได้ง่าย อีกทั้งการดูแลรักษาที่ไม่ยุ่งยาก รวมไปถึงความสวยงาม จึงทำให้ทันตกรรมรากเทียมเริ่มเป็นที่นิยม ได้รับการยอมรับถึงผลสำเร็จในการรักษา และมีแนวโน้มที่จะมาแทนที่สะพานฟันมากขึ้น เพราะสะพานฟันมีข้อจำกัดอยู่บางประการ นั่นก็คือ คุณจำเป็นต้องกรอฟันซี่ข้างเคียงเพื่อเป็นหลักยึดของสะพานฟัน ทำให้สูญเสียเนื้อฟันธรรมชาติไป
สะพานฟันเป็นการเสริมฟันในส่วนที่อยู่ด้านบนของเหงือก ฉะนั้นเมื่อเวลาผ่านไปกระดูกที่รองรับรากฟันของซี่ที่ถูกถอนไปจะค่อยๆละลายลง ทำให้เกิดการยุบตัวของกระดูกในบริเวณนั้น โดยเฉพาะส่วนฟันหน้าด้านบน เมื่อกระดูกละลาย จะทำให้โครงหน้าเปลี่ยน และดูแก่กว่าวัย แต่รากเทียมจะช่วยรักษากระดูกรองรับรากฟันไว้ทำให้กระดูกบริเวณนั้นไม่ละลายและคงสภาพเดิมไว้
ด้วยทันตกรรมรากเทียม คุณจะสามารถมีฟันซี่ใหม่ที่สวยงาม ใช้งานได้ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ ทำให้คุณสามารถส่งยิ้มให้กับคนรอบข้างได้อย่างสดใส และสามารถเพลิดเพลินกับการรับประทานอาหารได้อย่างเอร็ดอร่อย อย่างไรก็ตามคุณควรปรึกษากับทันตแพทย์เฉพาะทางรากเทียมอีกครั้ง เพื่อวางแผนและให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ