- คำถามที่พบบ่อย
- ระบบรากเทียมที่ใช้
- ระบบรากเทียมที่ใช้
- ประเภทของรากเทียม
- ขั้นตอนการทำรากเทียม
- ทำไมต้องใส่รากเทียม?
- รากเทียมคืออะไร?
- รู้จักกับรากเทียม

คำถามที่พบบ่อย
ทำไมต้องใส่รากเทียม
เหตุผลหลักของผู้เข้ารับการรักษารากเทียมคือ เพื่อสุขภาพฟันและช่องปากที่ดี ,เพิ่มความมั่นใจในชีวิตประจำวัน ,ความสุขที่มากขึ้นในการรับประทานอาหาร หรือไม่อยากใส่ฟันปลอมถอดได้
รากเทียมทำจากวัสดุอะไร เป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่
รากเทียมทำจากวัสดุไทเทเนียม ปกติร่างกายของคนเราจะไม่ยอมรับและต่อต้านวัสดุที่เข้าไปในร่างกาย แต่ไทเทเนียนเป็นวัสดุที่ร่างกายยอมรับ และกระดูกจะทำการจับยึดกับไทเทเทียมเพื่อความมั่นคงของฟันใหม่ที่คนไข้จะได้รับ
ต้องใช้เวลารักษานานแค่ไหน
การปลูกรากเทียมโดยทั่วไปแล้วจะใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน แต่อย่างไรก็ดีหากฟันและกระดูกอยู่ในสภาพที่ดีมาก เวลาในการรักษาก็อาจลดลงได้อีกเช่นกัน
ปลูกรากเทียมโดยใช้เวลาไม่นานทำได้หรือไม่
ได้ โดยการทำ immediate load ซึ่งคุณหมอจะทำการรวบขั้นตอนที่ต้องกินเวลานานหลายเดือน เหลือเพียงแค่วันเดียว คือ ทำการปลูกรากเทียม ใส่เดือยรองรับฟัน และใส่ครอบฟันชั่วคราว ทันที แต่อย่างไรก็ดี การรักษาแบบนี้ต้องได้รับคำปรึกษาจากทันตแพทย์เฉพาะทางเพื่อดูสภาพของกระดูกและฟันก่อน ว่าสามารถทำได้หรือไม่
หากต้องการปลูกรากฟันเทียมมากกว่าหนึ่งซี่ทำได้หรือไม่
การปลูกรากฟันเทียมสามารถทำพร้อมกันได้มากกว่าหนึ่งซี่ หรืออาจมากถึงการทำรากเทียมเพื่อบูรณะฟันใหม่ทั้งช่องปากเช่น การปลูกรากเทียมรองรับสะพานฟันทั้งขากรรไกร , การปลูกรากเทียมรองรับฟันปลอม
รากฟันเทียมมีอายุการใช้งานกี่ปี
การรักษาด้วยการปลูกรากเทียมนี้หากได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเข้ารับการตรวจสภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ รากเทียมนี้ก็สามารถมีอายุการใช้งานได้เสมือนฟันแท้ซี่อื่นๆ
ผลของการปลูกรากฟันเทียมมั่นใจได้แค่ไหน
จากผลการวิจัย และการเก็บสถิติ อัตราการปลูกรากเทียมสำเร็จจะอยู่ที่ประมาณ 90-95% อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับสภาพของโครงสร้างฟันของแต่ละบุคคลด้วย ดังนั้นจึงควรปรึกษากับทันตแพทย์ก่อนเข้ารับการรักษา เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะกับแต่ละบุคคลและให้ตรงกับความต้องการของคนไข้
การปลูกรากฟันเทียมมีข้อจำกัดอย่างไร
ข้อจำกัดของผู้ที่ต้องการเข้ารับการทดแทนฟันด้วยรากฟันเทียมนั้นมีน้อยมาก อย่างไรก็ดี กลุ่มคนที่มีอาการนอนกัดฟันรุนแรงหรือเป็นโรคเบาหวานชนิดควบคุมน้ำตาลไม่ได้อาจต้องเข้ารับคำปรึกษาจากทันตแพทย์เฉพาะทางก่อน